บทความ

พระประจำวันเกิด ผู้ที่เกิดวันจันทร์ และบทสวดมนต์บูชา

รูปภาพ
พระประจำวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร ลักษณะพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูป อยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสอง ยกขึ้นเสมอพระอุระ หรืออก ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกัน กับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปางห้ามญาติ จะยกมือขวาขึ้นห้าม เพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทร จะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม แต่ส่วนใหญ่ มักจะนิยมสร้างเป็นปางห้ามญาติ และนิยมทำเป็น แบบพระทรงเครื่อง ความเป็นมา ปางห้ามญาติเกิดขึ้น เนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดา คือกรุงกบิลพัสดุ์ และพระญาติฝ่ายพุทธมารดา คือ กรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บนคนละฝั่ง ของแม่น้ำโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้ำ เพื่อไปเพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาดจะยกทัพ ทำสงครามกัน พระพุทธองค์ จึงต้องเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ คือ ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน ส่วนปางห้ามสมุทร เป็นพุทธประวัติ ตอนเสด็จไปโปรดพวกชฎิล หรือนักบวชประเภทหนึ่ง ที่นุ่งห่มหนังเสือ และนิยมบูชาไฟ มี ๓ พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา พร้อมบริวาร ๑,๐๐๐ คน โดยได้แสดงพุทธปาฏิหารย์หลายอย่าง เพื่อทำลายทิฎฐิ...

พระประจำวันเกิด ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ และบทสวดมนต์บูชา

รูปภาพ
พระประจำวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร ลักษณะพระพุทธรูป เป็น พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกัน อยู่ระหว่างพระเพลา หรือตัก พระหัตถ์ขวาซ้อน เหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวร ทอดพระเนตร ดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ ความเป็นมา เมื่อครั้งพระบรมศาสดา ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข ซึ่งเป็นสุขอันเกิดจากความสงบ อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นระยะเวลา ๗ วัน จากนั้น ก็ได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้ง ทางทิศอีสาน ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตร ต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบ พระเนตรเลย ตลอดระยะเวลา ๗ วัน ซึ่งสถานที่ประทับยืนนี้ ได้มีนามปรากฏว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุ แห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ ที่เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็น พระพุทธรูป เพื่อสักการะบูชา ประจำของคนเกิดวันอาทิตย์ บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์ หากท่านใด สวดวันละ ๖ จบ จะมีความรุ่งเรือง มีความสุขสวัสดีตลอดกาล ซึ่งมีคำสวดบูชาดังนี้ อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ...